เมื่อมีปัญหาฟันไม่สวย บิ่น สึก แตก หัก มีสีเหลืองหรือคล้ำ ขนาดไม่เท่ากัน

ทำให้ขาดความมั่นใจทุกครั้งที่ต้องยิ้มและใช้งานฟัน การปรับปรุงสภาพฟันด้วยการทำวีเนียร์ (Veneer) เคลือบผิวฟันเพื่อแก้ความบกพร่องของผิวฟันให้กลับมาสวยงาม ยิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจและเป็นการอนุรักษ์เนื้อฟันได้มากกว่าการทำครอบฟัน

ทำความรู้จักวีเนียร์

วีเนียร์ (Veneer) คือ การเคลือบผิวฟันโดยใช้วัสดุที่มีลักษณะคล้ายเคลือบฟันธรรมชาติ ที่มีความบางและสีใกล้เคียงกับฟันมาติดบริเวณด้านหน้าฟัน ซึ่งไม่เพียงช่วยในเรื่องของความสวยงามน่ามอง แต่ยังช่วยป้องกันปัญหาการทำร้ายผิวฟัน ช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอายุการใช้งานของวีเนียร์นั้นสามารถอยู่ได้นาน 10-15 ปี หากทำการรักษากับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ประเภทการทำวีเนียร์

การทำวีเนียร์ (Veneer) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

เคลือบฟันเทียมที่ทำโดยตรงในช่องปาก (Direct Veneer)
คือ การใช้วัสดุอุดสีเหมือนฟัน ร่วมกับสารยึดติด อุดปิดลงบนผิวหน้าฟันโดยตรงในช่องปากเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสีฟัน ซึ่งวิธีนี้ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์เป็นสำคัญ มีข้อดีคือไม่จำเป็นต้องกรอฟันมากจนเกินไป แต่มีข้อเสียที่ต้องพิจารณาให้ดีคือ ใช้เวลาทำนานและหากควบคุมวัสดุอุดบริเวณขอบได้ไม่ดีพอ จะทำให้เกิดปัญหากลิ่นปาก  เหงือกอักเสบ  โดยวัสดุที่ใช้คือคอมโพสิตเรซิน (Composite Resin) เป็นวัสดุผสมระหว่างเรซินและซิลิกา ซึ่งความคงทนของสีและความเรียบเงาจะน้อยกว่าวัสดุประเภทพอร์ซเลน

เคลือบฟันเทียมที่ทำนอกช่องปาก (Indirect Veneer) 
คือ การที่ทันตแพทย์ทำการกรอผิวฟันเดิมออก พิมพ์ปาก และให้ผู้ป่วยเลือกสีฟันที่ต้องการ จากนั้นนำไปเข้ากระบวนการทางห้องแล็บ โดยใช้วัสดุประเภทพอร์ซเลน (Porcelain) ที่มีข้อดีในเรื่องความเงางามเหมือนฟันธรรมชาติและความคงทนของสี ซึ่งทันตแพทย์จะใส่ผิวฟันชั่วคราวให้คนไข้ระหว่างที่รอชิ้นงานส่งกลับมาให้ทันตแพทย์ใส่เข้าไปในช่องปากของคนไข้อีกครั้งจนเสร็จสมบูรณ์

เตรียมตัวก่อนทำวีเนียร์

 หากตัดสินใจทำวีเนียร์แล้ว การเตรียมตัวก่อนทำวีเนียร์ที่สำคัญ ได้แก่

ทำความสะอาดฟัน

รักษาฟันผุ

รักษาเหงือกอักเสบ

ดูแลรักษาหลังทำวีเนียร์

วิธีดูแลรักษาสุขภาพฟันหลังทำวิเนียร์สามารถทำได้โดย
– แปรงฟันให้สะอาด โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือกที่ทำวีเนียร์
– ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง
– เลี่ยงการกัดของแข็งและการใช้ฟันหน้ากัดแทะ
– ระวังการใช้ฟันในลักษณะกัดแล้วงัดออก
– พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
– หากเป็นคนที่นอนกัดฟันต้องใส่เฝือกสบฟันเพื่อป้องกันวีเนียร์เสียหาย

ทำวีเนียร์ดีอย่างไร

  • เพิ่มความมั่นใจและความสวยงามให้ฟันและรอยยิ้ม
  • ปรับปรุงสภาพฟันให้กลับมาดีขึ้นอีกครั้ง
  • ตกแต่งรูปร่างฟันได้
  • มีความแข็งแรงคงทนและยากต่อการติดคราบเครื่องดื่ม อาหาร และบุหรี่
  • ปิดช่องว่างในกรณีที่ฟันห่าง
  • ปกปิดสีฟันที่ผิดปกติไม่ชวนมอง

แม้การทำวีเนียร์ (Veneer) จะมีข้อดีมากมาย แต่ก็ยังคงมีข้อเสียอยู่บ้าง นั่นคือในกระบวนการรักษาที่จำเป็นต้องกรอฟันนั้น เคลือบฟันที่สูญเสียไปจะไม่มีวันคืนกลับมาอีก ดังนั้นจึงไม่ควรทำวีเนียร์หลายครั้งเพราะทุกครั้งที่รื้อวีเนียร์จะมีการกรอถูกฟันธรรมชาติมากขึ้น ที่สำคัญต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์และห้องแล็บที่มีอุปกรณ์เครื่องมือครบครันจึงจะสามารถทำการรักษาได้สมบูรณ์ ทำให้ใช้งานวีเนียร์ได้เป็นระยะเวลานาน

Or contact us via email form below

We will contact you within one business day.

บริการอื่นๆ ของเรา

    • ผ่าฟันคุดกับหมอเฉพาะทาง

      ผ่าฟันคุดกับหมอเฉพาะทาง

      การผ่าฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะเป็นการใช้ยาชา หลังผ่าอาจมีอาการปวดบ้าง ทันตแพทย์จึงให้ยาระงับปวด และใช้เวลาเพียงไม่นานก็จะดีขึ้นและกลับมาเป็นปกติ

    • รักษารากฟัน

      รักษารากฟัน

      การรักษารากฟัน คือขบวนการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและคลองรากฟันที่มีการติดเชื้อ และอักเสบ ร่วมกับการทำความสะอาดในคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค

    • รากฟันเทียม

      รากฟันเทียม

      การนำเอาวัสดุทดแทนรากฟันธรรมชาติ เข้าไปยึดกับกระดูกขากรรไกร ทดแทนรากฟันที่เสียไป อาจฟันดูเป็นวิธีที่น่ากลัว แต่จริงๆแล้วไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

    • จัดฟันใส

      จัดฟันใส

      เป็นการจัดฟันแบบที่ไม่ต้องติดเครื่องมือจัดฟันบนฟัน ซึ่งการจัดฟันแบบใสจะเป็นแบบถอด และใส่เองได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใส่เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น

    • จัดฟัน

      จัดฟัน

      การจัดฟันนั้นสามารถทำได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉลี่ยแล้วระยะเวลาในการจัดฟันจะอยู่ที่ประมาณ 1-3 ปี โดยจะขึ้นอยู่กับความซับซ้อนในการจัดฟันเป็นหลัก

    • ฟอกสีฟัน

      ฟอกสีฟัน

      การฟอกสีฟัน ฟอกฟันขาว ถือเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาคนที่มีฟันเหลือง หรือสีดำคล้ำโดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น บุหรี่, อาหาร, ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ เป็นต้น