
คงไม่มีใครอยากใส่ฟันปลอม แต่ในเมื่อไม่สามารถรักษาฟันแท้ชุดสุดท้ายไว้ได้อีกต่อไป ทางเลือกก็คือ การ ใส่ฟันปลอม เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการเห็นผู้สูงอายุอย่างคุณตาคุณยาย ใส่ฟันปลอม นั่นเพราะผู้สูงอายุสูญเสียฟันธรรมชาติจากวัยที่เพิ่มขึ้น แต่ในคนหนุ่มสาวก็มีสาเหตุที่ทำให้ต้อง ใส่ฟันปลอม ได้เช่นกัน อย่างการมีฟันผุจนต้องถอนฟัน ออกไป หรือการสูญเสียฟันจากอุบัติเหตุ ทำให้ฟันหลอ เป็นซี่ๆ โดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นกับฟันหน้าด้วยแล้ว นอกจากประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารจะลดลง ยังมองดูแล้วไม่ีกด้วย
ใส่หากไม่ ใส่ฟันปลอม จะส่งผลเสียอะไรบ้าง?
ฟันปลอม ปรียบเหมือนฟันชุดที่ 3 รองจากฟันน้ำนมและฟันแท้ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่มีฟันไม่ครบทั้งปาก เพราะถ้ามีช่องว่างระหว่างฟันแล้วไม่ใส่ฟันปลอม ก็จะส่งผลให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงโยก ล้ม หรือเอียง และทำให้ฟันหลุดเพิ่มได้, ทำให้การสบฟันผิดปกติ ส่งผลให้โครงสร้างของใบหน้าผิดรูปไปจากเดิม
การไม่ ใส่ฟันปลอมยังทำให้เหงือกอักเสบ เพราะเศษอาหารอาจมากระแทกเหงือกบริเวณที่ฟันหลุดออกไป, เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุเพราะมีเศษอาหารติดค้างบริเวณซอกเหงือก, ทำให้การเคี้ยวอาหารไม่มีประสิทธิภาพ เพราะคนที่ฟันมีช่องว่างและไม่ใส่ ฟันปลอม มักจะเคี้ยวอาหารเพียงข้างเดียว ทำให้บดเคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด เกิดความเมื่อยล้าบริเวณกราม และกระเพาะอาหารทำงานหนัก นอกจากนั้นยังทำให้พูดไม่ชัดในกรณีที่ฟันด้านหน้าหลุด ส่งผลต่อการประกอบอาชีพ หน้าที่การงาน และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือทำให้เสียบุคลิก หมดความมั่นใจ ไม่กล้าส่งรอยยิ้มให้ใคร
มาดูกันว่า ฟันปลอม มีกี่ชนิด ?
สำหรับคนที่กำลังมองหา ฟันปลอมเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติอยู่นั้น มาทำความรู้จักกับชนิดของ ฟันปลอม กันก่อนดีกว่า โดยปกติ ฟันปลอม จะมี 2 ชนิด ได้แก่
- ฟันปลอม ชนิดถอดได้
- ฟันปลอม ชนิดติดแน่น
ฟันปลอม ชนิดถอดได้จะมี 2 แบบ คือ
- ฟันปลอม แบบเต็มปาก เหมาะกับคนที่สูญเสียฟันแท้ไปหมดทั้งปาก เช่น ผู้สูงอายุ ลักษณะของ ฟันปลอมแบบนี้จะแยกชิ้นบน – ชิ้นล่าง โดยฐานจะเป็นอะคริลิคสีเหมือนเหงือก สำหรับชิ้นบนจะมีฐานให้ไปติดกับเพดานปาก ส่วนชิ้นล่างลักษณะจะเหมือนเกือกม้า ซึ่งในการผลิตทันตแพทย์จะพิมพ์ปากของคนไข้แล้วนำไปทำเป็น ฟันปลอม ในห้องปฏิบัติการทันตกรรม จึงเป็นชิ้นงานเฉพาะสำหรับแต่ละท่าน หมายความว่าตัวฐานเหงือกของ ฟันปลอม จะติดพอดีกับเหงือกของคนไข้ท่านนั้นๆ เท่านั้น โดยทั่วไป ฟันปลอม แบบทั้งปากจะใส่หลังจากฟันถูกถอนออกหมดและเนื้อเยื่อฟื้นตัวดีแล้ว ซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือน ก็ต้องทนไม่มีฟันเคี้ยวไปสักพักก่อน แต่ถ้าไม่ต้องการรอก็สามารถ ใส่ฟันปลอม ทั้งปากแบบทันทีได้ แต่ข้อเสียก็คือ เนื้อเยื่อและกระดูกที่รองรับฟันจะมีการเปลี่ยนแปลงขณะฟื้นตัวทำให้ ฟันปลอม หลวมได้ คนไข้ก็ต้องมาปรับเปลี่ยน ฟันปลอม ใหม่
- ฟันปลอม แบบบางซี่ สำหรับคนที่สูญเสียฟันไปบางซี่ หรือหลายซี่ แต่ยังไม่หมดทั้งปาก ที่นิยมกันมี 2 แบบคือ แบบฐานอคริลิก และแบบฐานโลหะ ถ้าเป็นฐานอคริลิกราคาจะถูกกว่าซ่อมแซมง่าย และเติมฟันเพิ่มได้ถ้ามีการถอนฟันเพิ่มในอนาคต แต่ต้องระวังเรื่องการแตกหัก ส่วนฐานโลหะ มีความแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย ใส่สบายกว่าเพราะมีความบาง โดยปกติ ฟันปลอม แบบบางซี่จะมีตะขอช่วยเสริมยึดฟันปลอมกับฟันจริง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาแบบที่ไม่มีตะขอโลหะ เรียกว่า ฟันปลอม ฐานวอลพลาส ที่ทำจากวัสดุพอลิเมอร์ ยืดหยุ่น บิดงอได้ ไม่แตกหัก แต่ไม่สามารถซ่อมแซมหรือเติมฟันเพิ่มได้
ข้อดี – ข้อด้อย ของ ฟันปลอม ชนิดถอดได้
ข้อดี : สามารถถอดเข้าถอดออกได้ ทำให้ดูแลทำความสะอาดได้ง่าย และไม่เสียเวลามาก, เมื่อเทียบกับ ฟันปลอม ชนิดติดแน่นราคาต่อชิ้นจะถูกกว่า และจุดเด่นอีกอย่างคือ การกรอแต่งเนื้อฟันธรรมชาติข้างเคียงน้อย โอกาสเสียวฟันจึงน้อย
ข้อด้อย : ชิ้นของ ฟันปลอม ที่ค่อนข้างใหญ่ ทำให้ไม่สะดวกสบายเวลาจะใส่ ใส่แล้วรู้สึกรำคาญ, ต้องถอดออกมาล้างทำความสะอาดทุกวัน และที่สำคัญอาจเห็นตะขอเวลายิ้ม ทำให้เสียความสวยงามไปบ้าง
ฟันปลอม ชนิดติดแน่น จะมี 2 แบบ คือ
- ฟันปลอม ชนิดติดแน่นด้วยสะพานฟัน เป็นฟันปลอมถาวร ติดยึดแน่นในช่องปาก ไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ การ ใส่ฟันปลอม ชนิดนี้ ทันตแพทย์จะต้องกรอแต่งฟันธรรมชาติที่อยู่ด้านข้างตำแหน่งฟันที่ว่างก่อน แล้วจึงใส่ชิ้นฟันปลอมโดยใช้ฟันธรรมชาติที่ถูกกรอเป็นหลักยึดฟันปลอมไว้ ถ้าฟันมีการล้มเอียงอาจต้องกรอฟันมากขึ้น หรือฟันที่ใช้เป็นหลักยึดอยู่ในสภาพไม่พร้อมก็ต้องรักษารากฟันก่อน กรณีฟันธรรมชาติข้างเคียงไม่สามารถเป็นหลักยึดได้อาจต้องทำฟันปลอมรากฟันเทียมของซี่ข้างเคียงเพื่อใช้เป็นฐานรองรับสะพานฟันก่อน
- ฟันปลอม ชนิดติดแน่นด้วยรากฟันเทียม เป็นการจำลองลักษณะของฟันธรรมชาติทั้งในส่วนของตัวฟันและรากฟัน จึงเหมือนกับเป็นการปลูกฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปแล้วขึ้นมาใหม่ วิธีการคือ ทันตแพทย์จะฝังตัวรากเทียมลงในกระดูกขากรรไกร แล้วรอจนกระดูกยึดกับรากเทียมใช้เวลาประมาณ 3 – 4 เดือน จากนั้นจะต่อหรือยึดตัวฟันปลอมลงไปทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป จะเป็นฟันซี่เดียว หรือหลายซี่ก็ได้
ข้อดี – ข้อด้อย ของ ฟันปลอม ชนิดติดแน่น
ข้อดี : จะไม่ขยับ ไม่หลวม หรือหลุดในขณะพูดหรือเคี้ยวอาหาร ทำให้คนที่ใส่มีความมั่นใจ รวมทั้งขนาดของฟันที่ค่อนข้างเล็ก ทำให้ไม่รู้สึกรำคาญ นอกจากนั้นฟันที่ใส่ยังมีความสวยงามใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากและยังมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวเป็นอย่างดี โดยเฉพาะฟันปลอมรากฟันเทียม
ข้อด้อย : มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะฟันปลอมรากฟันเทียม การทำความสะอาดยุ่งยากกว่าฟันปลอมชนิดถอดได้เพราะไม่สามารถถอดออกมาล้างได้ ต้องทำความสะอาดให้ทั่วรวมถึงบริเวณซอกฟันด้วย ส่วนข้อด้อยเฉพาะของฟันปลอมชนิดนี้ ถ้าเป็นฟันปลอมติดแน่นด้วยสะพานฟันจะต้องกรอแต่งฟันธรรมชาติที่อยู่ข้างเคียง ส่วนฟันปลอมรากฟันเทียมจะใช้เวลาทำค่อนข้างนาน, มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก และยังมีข้อจำกัดในบางคน เช่น คนที่เป็นโรคเบาหวาน, เคยฉายรังสีเพื่อการรักษาบริเวณใบหน้า เป็นต้น
ทราบถึงชนิดของ ฟันปลอม กันไปแล้ว การจะเลือกใช้ ฟันปลอม ชนิดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น จำนวนฟันที่หายไป, สภาพของฟัน, ลักษณะของสันเหงือก, ความพึงพอใจของคนไข้, ราคาฟันปลอม เป็นต้น โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาฟันปลอมแบบที่เหมาะสมให้กับคนไข้ ดังนั้น จึงควรปรึกษากับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมประดิษฐ์ก่อนตัดสินใจ
เมื่อพร้อม ใส่ฟันปลอม
หลังจากปรึกษากับทันตแพทย์อย่างละเอียดและตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการ ใส่ฟันปลอม ก่อนทำการรักษาควรเตรียมตัวให้พร้อมโดยการทำความสะอาดช่องปากให้สะอาด ดูแลช่องปากอย่าให้มีแผล หากมีแผลควรรอให้แผลหายอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เมื่อถึงวันที่จะต้อง ใส่ฟันปลอม ทันตแพทย์จะทำการตรวจสภาพช่องปากสร้างแบบจำลองช่องปาก เพื่อที่จะทำฟันปลอมให้มีขนาด รูปร่าง ที่เหมาะสมกับฟันของคนไข้มากที่สุด หลังจากนั้นทันตแพทย์จะทำการสร้าง ฟันปลอม แบบชั่วคราว และนำมาใส่ให้คนไข้ เพื่อดูว่ามีขนาดและรูปร่างที่เหมาะสมหรือไม่ รวมทั้งความสะดวกในการใช้งาน และทำการปรับปรุงแก้ไขจน ฟันปลอม นั้นเข้ากับช่องปากมากที่สุด จากนั้นทันตแพทย์ก็จะทำการส่งฟันปลอมชั่วคราวนั้นไปสร้างฟันปลอมชุดจริง และนำฟันปลอมชุดจริงมาใส่ให้กับคนไข้
การดูแล ฟันปลอม และช่องปาก
ไม่ว่าจะเป็นฟันแท้ หรือฟันปลอม ก็ต้องดูแลอย่างถูกวิธี ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาภายในช่องปาก เช่น ฟันผุ, หินปูน, โรคเหงือกอักเสบ และปัญหากลิ่นปากตามมาได้ ซึ่งการดูแลภายในช่องปากและฟันปลอมให้ปฏิบัติดังนี้
กรณี ใส่ฟันปลอม ชนิดถอดได้
- ให้ถอดล้างทำความสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร โดยใช้น้ำสะอาด ยาสีฟัน หรือน้ำสบู่อ่อน ใช้แปรงสีฟันชนิดขนอ่อนนิ่มในการทำความสะอาดจะได้ไม่สึกกร่อนเร็ว
- แช่ฟันปลอมไว้ในภาชนะบรรจุน้ำสะอาด เพื่อไม่ให้ฐานพลาสติกแห้งและบิดงอจากการโดนอากาศ และห้ามแช่ฟันปลอมในน้ำร้อนเพราะอาจบิดงอได้
- ระมัดระวังการตกหล่นเพราะอาจแตกหักได้ โดยเฉพาะขณะทำความสะอาด ควรมีภาชนะใส่น้ำรองรับเผื่อพลัดหลุดจากมือจะได้ไม่ตกแตกหรือตะขอบิดเบี้ยว
- ควรถอดฟันปลอมก่อนนอนทุกวัน เพื่อป้องกันการหลุดลงคอ และให้เนื้อเยื่อใต้ฟันปลอมได้พักบ้าง ถ้าใส่ฟันปลอมกดทับอยู่ตลอด24 ชั่วโมง อาจทำให้เนื้อเยื่อเกิดการอักเสบได้
- ทุกเช้าก่อนสวมฟันปลอมควรแปรงเหงือก ลิ้น และเพดานปากด้วยแปรงสีฟันขนอ่อนนุ่ม เพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์และกระตุ้นการไหลเวียนเลือด
- ถ้าฟันปลอมหลวม แตก หัก บิ่น ควรปรึกษาทันตแพทย์
- ดูแลทำความสะอาดฟันแท้ที่เหลืออยู่เหมือนเดิม
กรณี ฟันปลอม ชนิดติดแน่น
ดูแลทำความสะอาดเหมือนฟันปกติ แต่เพิ่มความใส่ใจบริเวณคอฟัน โดยเฉพาะขอบฟันซี่ที่ครอบด้วยฟันปลอม ให้ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาด จะช่วยขจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ได้ดีกว่าแปรงฟันอย่างเดียว
สำหรับคนที่ไม่เคย ใส่ฟันปลอม มาก่อน อาจจะต้องอาศัยเวลาในการสร้างความคุ้นเคยกับ ฟันปลอม สักนิด โดยเฉพาะ ฟันปลอม ชนิดถอดได้ ใส่ช่วงแรกๆ มักมีความรู้สึกว่าเทอะทะ หลวมไม่กระชับ บางทีจะรับประทานจะพูดรู้สึกไม่ถนัดปาก โดยปกติแล้วกล้ามเนื้อแก้มและลิ้นจะค่อยๆ สร้างความเคยชินในการประคองฟันปลอมเอาไว้ เมื่อผ่านไปสักระยะก็จะปรับตัวได้เอง สิ่งที่ควรระมัดระวังก็คือในขณะหาวหรือจาม เนื่องจากฟันปลอมอาจหลุดออกมาได้ การใส่ฟันปลอมอาจจะทำให้มีน้ำลายออกมามากกว่าปกติประมาณ 1-2 สัปดาห์ สามารถอมลูกอมเพื่อช่วยให้กลืนน้ำลายได้ง่ายขึ้น และหากรู้สึกว่าคอแห้งปากแห้ง ควรจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อช่วยหล่อลื่นและช่วยให้กล้ามเนื้อปรับตัวให้เข้ากับฟันปลอมได้
ถึงจะเป็น ฟันปลอม ก็มีวันเสื่อม หมดอายุการใช้งาน แตก หัก บิดเบี้ยว หลวม หรือเกิดปัญหาจากการใส่ฟันปลอม เช่น เหงือกอักเสบจากการที่ฟันปลอมไปถูหรือกดเหงือกหรือเนื้อเยื่อในปาก มีการยุบตัวของสันเหงือกรวมถึงปัญหาอื่นๆ ในช่องปากที่จำเป็นต้องแก้ไข อาทิ อุดฟัน, ขูดหินปูน หรือ รักษาโรคเหงือกเป็นต้น ดังนั้น จึงควรไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละครั้ง
คงเห็นแล้วว่า การ ใส่ฟันปลอม ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด ช่วยให้คุณกลับมายิ้มได้อย่างเต็มที่ มีความสุขในการรับประทานอาหารที่ชอบ และเข้าสังคมได้อย่างมั่นใจ
Leave a reply