จัดฟันมีกี่ประเภท

แบ่งการจัดฟันออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. แบบเครื่องมือติดแน่น

2. แบบเครื่องมือถอดได้

ซึ่งในแต่ละประเภทนั้นก็จะมีชนิดของเครื่องมือให้เราสามารถเลือกได้เหมาะสมกับตามความต้องการ

1.1 จัดฟันโลหะ หรือ เหล็กจัดฟัน

เป็นการจัดฟันด้วยเครื่องมือโลหะ 3M Unitek MBT Braces ต้วเหล็กจัดฟันมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก และการเลือกสียางที่ติดบนเครื่องมือจัดฟันก็ยังช่วยนำเสนอบุคลิกที่เป็นตัวตนของคุณ ทำให้คุณมีความสนุกกับการจัดฟันมากขึ้น การจัดฟันแบบนี้เป็นแบบมาตรฐานที่นิยมจัดกันทั่วไป

ผู้มารับบริการส่วนใหญ่จะเลือกการจัดฟันแบบนี้ พบทันตแพทย์จัดฟันทุกๆ 4-6 สัปดาห์ เพื่อปรับเครื่องมือจัดฟัน และการจัดฟันแบบนี้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการจัดฟันชนิดอื่นๆ

โดยมีข้อดีคือสามารถใช้ในการจัดฟันได้ในทุกรูปแบบ ในราคาที่ย่อมเยากว่าแบบอื่นๆ รวมไปถึงสีสันของยางที่มีให้เลือกใช้ได้หลากหลายอีกด้วย

1.2 จัดฟันเซรามิก

เป็นการจัดฟันด้วยเครื่องมือเซรามิก 3M Clarity Braces เป็นเครื่องมือที่มองเห็นได้น้อยมาก ซึ่งลักษณะของเครื่องมือมีความคล้ายคลึงกับแบบโลหะ แต่ทำจากวัสดุเซรามิกสีเหมือนฟัน Ceramic Braces ใช้เครื่องมือแบบติดแน่น โดยตัวเครื่องมือทำมาจาก Ceramic ใส ซึ่งจะทำงานร่วมกับยางรัดและลวดเพื่อที่จะเคลื่อนฟันไปในตำแหน่งที่ต้องการ

การจัดฟันแบบนี้มีข้อดีคือเครื่องมือจะมีลักษณะโปร่งแสงซึ่งจะมองเห็นได้ยากกว่าเหมาะสำหรับผู้ทีไม่ต้องการให้ผู้อื่นเห็นอย่างเด่นชัดว่าจัดฟันอยู่ แต่ก็ยังสามารถเห็นได้บ้างเนื่องจากเครื่องมือยังติดอยู่ที่ด้านนอกของฟันอยู่ ระยะเวลาการพบทันตแพทย์เหมือนการจัดฟันแบบโลหะ แต่การจัดฟันเซรามิก มีราคาสูงกว่าการจัดฟันแบบเหล็กทั่วไป

1.3 จัดฟันเร่งด่วนดามอน Damon

จัดฟันด้วยเครื่องมือแบบ Damon หรือ จัดฟันแบบ 3M Clarity SL เป็นเครื่องมือจัดฟันที่ไม่ต้องใส่ยางรัดฟัน ( Self-ligation Braces ) ทำให้การเคลื่อนฟันทำได้เร็วขึ้น และยังเป็นระบบจัดฟันที่ช่วยลดระยะเวลาในการรักษาให้น้อยลงกว่าเวลาที่ต้องใช้ในการจัดฟันแบบเหล็กปกติ ลดความเจ็บปวดในการรักษาได้เป็นอย่างดี

เนื่องจากทันตแพทย์จัดฟันสามารถเคลื่อนฟันได้ง่ายกว่าแบบเหล็กทั่วไป ทันตแพทย์จึงใช้แรงในการเคลื่อนฟันน้อยกว่า ผู้ป่วยจึงรู้สึกเจ็บปวดฟันหลังการปรับเครื่องมือน้อยกว่าการจัดฟันแบบเหล็กธรรมดา

โดยจะแตกต่างจากเครื่องมือแบบธรรมดาคือ เป็นเครื่องมือจัดฟันที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้สามารถเคลื่อนฟันได้โดยการทำงานร่วมกับลวดได้โดยตรง ไม่ต้องใช้ยางรัดฟัน ทำให้การเคลื่อนฟันสามารถทำได้อย่างนุ่มนวลมากขึ้น ความรู้สึกตึงและเจ็บเวลาเคลื่อนฟันน้อยลง การเคลื่อนฟันได้เร็วกว่าแบบธรรมดาซึ่งทำให้ใช้ระยะเวลาในการจัดฟันน้อยลงอีกด้วย

1.4 จัดฟันสองชั้นแบบ AOSC

การจัดฟันแบบ AOSC คืออะไร?

คือ นวัตกรรมของเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น (Bracket) หรือที่เรียกกันว่าเหล็กจัดฟันโดยอาศัยหลักของ Active-Passive ในการออกแบบ เกิดเป็นระบบการจัดฟันรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า

เครื่องมือจัดฟันแบบ 2 ชั้น

ซึ่งจะมีจุดเด่น คือ สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานได้ 2 รูปแบบ ทำให้ช่วยลดความฝืดระหว่างลวดจัดฟัน และเครื่องมือเมื่อต้องการเคลื่อนฟันเพื่อแก้ปัญหาฟันเกหรือฟันยื่น ทั้งยังสามารถเพิ่มความฝืดเมื่อต้องการแก้ไขตำแหน่งมุมองศาของฟันให้สวยงามอีกด้วยค่ะ

ความพิเศษของการจัดฟันแบบ AOSC

ฟันสามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว

ใช้แรงดึงฟันน้อย

สามารถปรับความแน่นของลวดได้

ใช้ระยะเวลาในการจัดฟันสั้นกว่าการจัดฟันปกติที่มีเพียง 1 ชั้น*

สามารถใส่ยางได้ 2 ชั้นในกรณีที่ต้องการความสวยงาม

*ขึ้นอยู่กับลักษณะของฟันของแต่ละบุคคล

1.5 จัดฟันแบบใส invisalign

จัดฟันแบบใส invisalign เป็นการจัดฟันแบบที่ไม่ต้องติดเครื่องมือจัดฟันบนฟัน เครื่องมือจะเป็นแผ่นวัสดุใสๆ บางๆ เป็นชิ้นงานที่ทำจากแลปในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะจัดทำขึ้นโดยการแสกนฟันร่วมกับการเอกซเรย์โครงสร้างกระดูกและใบหน้า เพื่อให้ทันตแพทย์สามารถออกแบบแผนการรักษาที่เหมาะสมร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในการที่จะสร้างอุปกรณ์จัดฟันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกับคนไข้แต่ละคน

ซึ่งการจัดฟันแบบใสจะเป็นแบบถอด และใส่เองได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใส่เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น ผู้มารับบริการส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อยากจัดฟันแต่ไม่อยากติดเครื่องมือจัดฟัน การจัดฟันแบบใสมีราคาค่าใช้จ่ายในการจัดฟันสูงกว่าแบบเหล็ก 2-3 เท่า ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการซ้อนเกของฟัน

โดยจุดเด่นของ invisalign คือ การที่เครื่องมือมีลักษณะใสทำให้มองเห็นได้ยาก รวมถึงการที่สามารถถอดเครื่องมือได้ด้วยตนเองในกรณีที่จำเป็น เช่น เวลาทานอาหาร หรือตอนแปรงฟัน ทำให้ผู้ที่จัดฟันได้รับประสบการณ์ที่ดีกว่าการจัดฟันแบบอื่น

ข้อดีของการจัดฟัน

1. ฟันเรียงตัวสวยขึ้น มีรอยยิ้มที่สวยงาม

2. เสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีขึ้น และเพิ่มความมั่นใจ

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการสบฟันที่ดีขึ้น และการเคี้ยวอาหารได้ดีกว่าเดิม

3. สุขภาพปากและฟันดีขึ้น การทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง ฟันผุน้อยลง

4. ช่วยลดกลิ่นปาก ง่ายต่อการทำความสะอาดฟัน

5. การจัดฟันทำให้รูปหน้าเปลี่ยนไป (ขึ้นอยู่กับบุคคล)

ขั้นตอนการจัดฟัน

ผู้ต้องการจัดฟันมาพบหมอจัดฟัน เพื่อปรึกษา บอกเล่าปัญหาของการสบฟันให้หมอจัดฟันทราบ ตรวจสภาพสมดุลของใบหน้าและขากรรไกร ตรวจฟันและกระดูกรองรับฟัน ตรวจช่องปากโดยทั่วไป ตรวจฟันผุ และเนื้อเยื่ออื่นๆภายในช่องปาก

หมอจัดฟัน จะส่งผู้ที่ต้องการจัดฟันไปถ่ายเอ็กซเรย์ Panoramic film ซึ่งหมอจัดฟันจะมองเห็นความผิดปกติของกระดูกและฟันได้ทั้งหมด, ถ่ายเอ็กซเรย์ Cephalometric film เป็นการถ่ายเอ็กซเรย์ กระโหลกศรีษะด้านข้าง เพื่อดูความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรบน และขากรรไกรล่าง และดูความยื่นของทั้งฟันบนและฟันล่าง

ทันตแพทย์จัดฟันจะวางแผนการรักษา จัดฟันให้ผู้มารับการจัดฟัน ซึ่งอาจมีทั้งประเภทที่ต้องถอนฟันบางส่วน หรือไม่ต้องถอนฟันเลย หรืออาจต้องจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของผู้มารับบริการจัดฟัน แล้วหมอจัดฟันและผู้มารับบริการจะเลือกแผนการรักษาการจัดฟันที่เหมาะสมกับผู้มารับบริการแต่ละราย

หมอจัดฟันและผู้จัดฟันจะเลือกเครื่องมือในการจัดฟัน เช่น จัดฟันเหล็ก จัดฟันเซรามิก จัดฟันดามอน จัดฟันด้านใน จัดฟันแบบใส invisalign เป็นต้น

หมอจัดฟัน จะติดเครื่องมือจัดฟันให้ผู้ที่ต้องการจัดฟัน แล้วนัดมาปรับเครื่องมือเป็นระยะๆตามชนิดของเครื่องมือจัดฟันแต่ละประเภท เช่น การจัดฟันแบบเหล็กและเซรามิก คุณหมอจัดฟันจะนัดผู้จัดฟันมาปรับเครื่องมือทุกๆ 4-6 สัปดาห์, จัดฟันแบบดามอน ผู้จัดฟันจะมาปรับเครื่องมือทุก 2-3 เดือนครั้ง และ นัดมาตรวจเช็ค aligner ในกรณีการจัดฟันแบบใสทุกๆ 3-6 เดือน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความผิดปกติของการสบฟันของผู้มารับบริการแต่ละประเภท

หลังจัดฟันเสร็จ ผู้จัดฟันต้องใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือ รีเทนเนอร์ เป็นประจำตามคำแนะนำของหมอจัดฟัน ระยะเวลาการใส่รีเทนเนอร์ ขึ้นอยู่กับผู้มารับบริการแต่ละรายผู้รับการจัดฟันควรกลับมารับการตรวจเช็ค ประจำทุกๆปีหลังจัดฟันแล้วเสร็จ พร้อมนำรีเทนเนอร์ มาตรวจความสมบูรณ์ด้วย

เริ่มจัดฟัน เมื่ออายุเท่าไร

การจัดฟันนั้นสามารถทำได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจการสบฟันจากทันตแพทย์ทั่วไป และได้รับการส่งต่อมายังหมอจัดฟันทันที ที่สังเกตุพบปัญหาการสบฟัน การจัดฟันส่วนใหญ่มักเริ่มทำในเด็กมีฟันแท้ขึ้นเกือบครบ คืออายุประมาณ 11-13 ปี อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาการสบฟันบางอย่างสามารถทำได้ในช่วงฟันแท้ขึ้นผสมกับฟันน้ำนม

เพื่อลดความรุนแรงของปัญหา หรือเพื่อป้องกันการไม่ให้เกิดการพัฒนาไปเป็นความผิดปกติที่มีความรุนแรงขึ้น เช่นการจัดฟันหน้าบางส่วนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกระทบกระแทกต่อฟันในกรณีที่ฟันหน้าบนยื่นมาก การจัดฟันในชุดฟันผสมมักเป็นการรักษาระยะสั้น และเป็นการจัดฟันบางส่วนเท่านั้น เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะฟันแท้ ส่วนใหญ่จะจำเป็นต้องได้รับการจัดฟันทั้งปากต่อไป

จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

การสบฟันที่ผิดปกติอาจมีสาเหตุร่วมจากความผิดปกติของขากรรไกร เช่นตำแหน่งหรือขนาดของขากรรไกรบนและล่างไม่สัมพันธ์กัน หากพบความผิดปกติของขากรรไกรในระยะเด็ก อาจให้การแก้ไขด้วยเครื่องมือที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกรได้ (Dentofacial Orthopedics) (ดูหัวข้อเครื่องมือที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกร)

ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของขากรรไกรมาก จะทำให้ฟันสบไม่เข้าที่และรูปหน้าดูไม่สมส่วน จะแก้ไขด้วยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic Surgery) การผ่าตัดมักจะทำเมื่อผู้ป่วยหยุดการเจริญเติบโตแล้ว โดยอาจผ่าตัดที่ขากรรไกรเดียว หรือทั้งสองขากรรไกร และอาจผ่าตัดเสริมที่คางได้ด้วย

ขั้นตอนการจัดฟัน ร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

เริ่มจากตรวจการสบฟัน พิมพ์ปาก และเอ็กซ์เรย์เหมือนการจัดฟันทั่วไป แต่เมื่อทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทางทันตกรรมวินิจฉัยว่าความผิดปกติมีสาเหตุ มาจากกระดูกขากรรไกร ทันตแพทย์จะแนะนำทางเลือกที่เป็นการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร หากผู้ป่วยสนใจแผนการรักษาร่วมกับการผ่าตัด ควรนัดปรึกษากับทันตแพทย์ผู้ที่จะทำการผ่าตัด (Oral Surgeon) เพื่อวางแผนการรักษา ประเมินค่าใช้จ่าย ตลอดจนซักถามข้อสงสัยต่าง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินในการเลือกแผนการรักษา

การรักษาด้วยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้คือ

  1. การจัดฟันก่อนการผ่าตัด (Presurgical Orthodontics)
    มักใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ปี และอาจต้องมีการถอนฟันร่วมด้วย หากฟันซ้อนเกมาก การจัดฟันก่อนผ่าตัด จะใช้เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นเคลื่อนฟันในแต่ละขากรรไกรไปในตำแหน่งที่สัมพันธ์กับขากรรไกรนั้น เนื่องจากการสบฟันที่ผิดปกตินั้น ฟันจะล้มเอนตามธรรมชาติไปในแนวที่ปิดบังความผิดปกติของขากรรไกรดังนั้นการแก้การล้มเอนตามธรรมชาติและจัดเรียงฟันให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องบน แต่ละขากรรไกรก่อนการผ่าตัด มักจะทำให้การสบฟันก่อนผ่าตัดรวมทั้งใบหน้าดูแย่ลงชั่วคราว ทันตแพทย์จะตรวจเช็คว่าฟันบนล่างจะสัมพันธ์กันหรือไม่ โดยการให้ผู้ป่วยเลื่อนขากรรไกรล่างออกมาข้างหน้าในกรณีที่ขากรรไกรล่างเล็ก กว่าบน หรือตรวจด้วยการพิมพ์ปากเพื่อเช็คตำแหน่งฟันโดยละเอียดนอกปาก
  2. การผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic Surgery)
    เมื่อพร้อมที่จะทำการผ่าตัดขากรรไกร หมอจัดฟันจะพิมพ์ปาก และเอ็กซ์เรย์อีกครั้งเพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบฟันและ เตรียมทำเฝือกสบฟันสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนและหลังการผ่าตัดจากทันตแพทย์ผู้ ทำการผ่าตัดการผ่าตัดจะทำในโรงพยาบาล และผู้ป่วยมักจะต้องพักฟื้น 1-3 วันในโรงพยาบาล และพักต่อที่บ้านอีกประมาณ 2-4 สัปดาห์แล้วแต่ทันตแพทย์แนะนำ
  3. การจัดฟันหลังการผ่าตัด (Postsurgical Orthodontics)
    เป็นการจัดฟันในรายละเอียดเพื่อให้การสบฟันสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยมากจะใช้หนังยางดึงฟันร่วมด้วย และมักจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

ข้อมูลจากสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย

ระยะเวลาในการจัดฟัน

โดยเฉลี่ยแล้วระยะเวลาในการจัดฟันจะอยู่ที่ประมาณ 1-3 ปี โดยจะขึ้นอยู่กับความซับซ้อนในการจัดฟันเป็นหลัก การเคลื่อนฟันเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำได้ในเวลาไม่นาน แต่ถ้าเป็นการเคลื่อนฟันหลายซี่ในระยะทางไกลๆ หรือในกรณีที่มีการถอนฟันหรือมีการผ่าตัดร่วมกับการจัดฟัน ก็จะทำให้การจัดฟันใช้เวลานานมากขึ้น 

ข้อควรปฏิบัติในระหว่างการจัดฟัน

      1. การติดเครื่องมือจัดฟันจะทำให้มีเศษอาหารติดที่ฟันได้ง่ายรวมไปถึงการทำความสะอาดฟันจะมีความยากลำบากมากขึ้น ผู้ที่จัดฟันจึงต้องเพิ่มความละเอียดในการทำความสะอาดฟันรวมไปถึงการใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดฟันผุ2.หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีลักษณะแข็งและเหนียว เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องมือจัดฟันได้3.ควรไปพบทันตแพทย์ตามนัดเป็นประจำ เนื่องจากการขาดความต่อเนื่องในการรักษาจะทำให้ระยะเวลาในการจัดฟันนานขึ้น รวมไปถึงผลลัพธ์ของการรักษาอาจไม่เป็นไปตามที่วางใว้อีกด้วย

ถามตอบ ปัญหาการจัดฟัน โดยคุณหมอจัดฟัน เฉพาะทาง

Q: การจัดฟันทำให้หน้าเรียวจริงหรือไม่

A: การจัดฟันเป็นการจัดระเบียบฟันที่ซ้อนเก ฟันห่าง ฟันยื่น ให้เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงาม และสามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีคุณภาพ หลังจากจัดฟันหรือดัดฟันเสร็จ รูปหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่นคนไข้ในรายที่มีฟันยื่น หรือฟันเก หลังจัดฟันใบหน้าบริเวณปากยุบลง รอยยิ้มเข้ารูปกับใบหน้ามากขึ้น ทำให้มองดูใบหน้าเล็กและเรียวขึ้นกว่าก่อนจัดฟัน ซึ่งเป็นผลพลอยได้หลังจากการจัดระเบียบฟัน

การจัดฟันแล้วหน้าเรียว ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันและใบหน้าของคนไข้แต่ละราย ซึ่งผลการรักษาย่อมมีความแตกต่างกัน ดังนั้นหากต้องการจัดฟัน ควรปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องตามหลักการของทันตแพทย์ เพื่อให้ได้รอยยิ้มที่สวยงามและสามารถรับประทานอาหารได้อย่างมีความสุข

Q: จัดฟันที่ไหนดี จะเลือกสถานที่จัดฟันทั้งที ต้องเลือกอย่างมีหลักการ

A: 
1.
ตรวจสอบคุณสมบัติของทันตแพทย์จัดฟัน จะต้องจบหลักสูตรเฉพาะทางด้านการจัดฟัน
2.
คลินิกทันตกรรมที่มีมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย
3.
คลินิกทันตกรรมที่ใช้เครื่องมือจัดฟันที่มีคุณภาพ
4.
คลินิกทันตกรรมที่มีความน่าเชื่อถือ เพราะการจัดฟันเป็นการรักษาระยะยาว หากคลินิกปิดหรือย้ายสถาน ที่อาจส่งผลเสียต่อคนไข้ได้
5.
เดินทางสะดวก เนื่องจากการจัดฟันจะต้องมาพบทันตแพทย์ทุกเดือน (ยกเว้นการจัดฟันดามอน และการ จัดฟัน invisalign)

Q: ขั้นตอน จัดฟันต้องเตรียมตัวอย่างไร?

A: ก่อนที่จัดฟันควรตรวจสอบตัวเองว่าต้องการจัดฟัน เพราะอะไร ต้องตอบตัวเองให้ได้นะคะ เนื่องจากการจัดฟันมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ถ้าตัดสินใจจัดฟันแล้วต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 2 ปี ระหว่างจัดฟันจะต้องดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากมีเครื่องมือจัดฟันอยู่ในช่องปาก ถ้าทำความสะอาดไม่ดีอาจก่อให้เกิดฟันผุอีกด้วย ดังนั้นหากต้องการจัดฟันควรเตรียมตัวและเตรียมใจให้พร้อมก่อนะคะ

ขั้นตอนการจัดฟันทั่วไป
1.
นัดปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน
2.
ทันตแพทย์จะทำประวัติโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ และพิมพ์ปากเพื่อทำประวัติ
3.
เคลียร์ช่องปาก เช่น ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ให้เรียบร้อยก่อนติดเครื่องมือ
4.
ติดเครื่องมือจัดฟัน ทันตแพทย์จะดูลักษณะฟันของแต่ละบุคคลว่าสามารถติดเครื่องมือฟันบนล่างพร้อมกันได้หรือไม่ บางกรณีอาจติดเครื่องมือฟันบนหรือล่างก่อนขึ้นอยู่กับลักษณะฟันของแต่ละบุคคล
5.
ทันตแพทย์นัดปรับเครื่องมือจัดฟันทุก 1 หรือ 2 เดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของการจัดฟัน
6.
เมื่อทำการรักษาจัดฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะถอดเครื่องมือจัดฟันและพิมพ์ปากทำรีเทรนเนอร์

Q: การจัดฟัน มีกี่แบบ

A: การจัดฟันมี 2 แบบหลักๆ คือจัดฟันแบบติดแน่น และการจัดฟันแบบถอดได้
1.
การจัดฟันแบบติดแน่นคือการจัดฟันที่ติดเครื่องมือจัดฟันบนตัวฟัน และปรับการเรียงตัวของฟันโดยใช้ลวด ยึดกับเครื่องมือจัดฟัน ซึ่งการจัดฟันแบบติดแน่นนี้ จะถอดเครื่องมือได้ก็ต่อเมื่อจัดฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยทันตแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้ถอดออกให้ ได้แก่ จัดฟันโลหะ หรือจัดฟันทั่วไป จัดฟันเซรามิก จัดฟันดามอน จัดฟันด้านใน
2.
การจัดฟันแบบถอดได้ เป็นเครื่องมือจัดฟันที่คนไข้สามารถถอดเข้าออกได้ด้วยตัวเอง เป็นการจัดฟันกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะง่ายสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำความสะอาดง่าย คนอื่นมองไม่เห็นว่าจัดฟันอยู่ ซึ่งการจัดฟันประเภทนี้ คือการจัดฟันใส invisalign

Q: จัดฟันต้องถอนฟันไหม

A: การจัดฟันจำเป็นต้องถอนฟันในบางกรณีที่ฟันมีการซ้อนเก ฟันยื่น เพื่อให้มีพื้นที่ว่างในการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ ทั้งนี้ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน จะพิจารณาหลังจากตรวจลักษณะฟันภายในช่องปาก และถ่าย x-ray เพื่อให้เห็นโครงสร้างใบหน้าและขากรรไกร จึงจะสามารถวางแผนการรักษาได้ ว่าคนไข้จำเป็นต้องถอนฟันเพื่อการจัดฟันหรือไม่ ต้องถอนกี่ซี่ ดังนั้นก่อนจัดฟันควรปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวางแผนแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องตามหลักการแพทย์ จะได้ผลการรักษาที่ดี ฟันเรียงตัวสวยงาม และบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

*ข้อจำกัดความรับผิด: ผลลัพธ์การรักษาขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละบุคคล

Leave a reply